วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

Journal Thursday 28 April 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 9



ความรู้ที่ได้รับ : Knowledge


^_^ โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)

แผน IEP

- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก

- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP

- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
- เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้

- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย

- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน

- วิธีการประเมินผล




































^_^ ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ

- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะสั้น
- ระยะยาว

จุดมุ่งหมายระยะยาว

กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
- น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
- น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
- น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น

- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์



ตัวอย่างเช่น


3. การใช้แผน

- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
   1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
   2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
   3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก


4. การประเมินผล

- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม
อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**




ภาพรับรางวัลเด็กดี






ทักษะ : Skill

- การคิด
- วิเคราะห์/สังเคราะห์
- การคิด แก้ปัญหา
- การระดมความคิด
- การสังเกต



การนำไปใช้ : Adoption

^_^  นำความรู้ ทักษะ รูปแบบการเขียนแผน IEP ไปใช้ในการเขียนแผนจัดกิจกรรมให้กับเด็กพิเศษที่บกพร่องในด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาความบกพร่องทางด้านต่างๆให้ดียิ่งขึ้นและเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย



การประเมิน : Evaluation

ตัวเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ร่วมวิเคราะห์รูปแบบ ทักษะ การเขียนแผน IEP เพื่อจัดกิจกรรมต่างๆสำหรับเด็กพิเศษ ตั้งใจฟังคำแนะนำและนำไปใช้ และได้รับรางวัลเด็กดี

เพื่อน
        เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน  ตั้งใจฟังคำแนะนำจากครูผู้สอนและรับรางวัลเด็กดีสำหรับคนไหนที่เข้าเรียนทุกคาบ ตรงต่อเวลา

อาจารย์ผู้สอน
         เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ให้คำปรึกษากับนักศึกษาทุกคน ทั้งเรื่องการเรียนและเทคนิคการเขียนแผนจัดการกิจกรรมให้กับเด็กพิเศษที่มีความบพร่องทางด้านต่างๆ และมอบรางวัลเด็กดีให้กับนักศึกษาที่มีตัวปั๊มการมาเรียนมากที่สุด และรองลงมา

ห้องเรียน

             สะอาด อุปกรณ์พร้อมใช้งาน ลำโพงไม่มี ต้องนำมาเอง โปรเจคเตอร์พร้อมในการใช้งาน





วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

Journal Friday 22 April 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8


ความรู้ที่ได้รับ : Knowledge

^_^ การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

- เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน 
- ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด  
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)





             การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)

เ่ช่น  1.การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies) 
        2.โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS) 
        3.เครื่องโอภา (Communication Devices) 
        4.โปรแกรมปราศรัย




Picture Exchange Communication System (PECS)




^_^ บทบาทครู



^_^ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ



^_^ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

1. ทักษะทางสังคม

      ยุทธศาสตร์การสอน

- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก
- ทำแผน IEP

      การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง

- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ

       ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น

- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม




      การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น

- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
- ทำโดย “การพูดนำของครู”


2. ทักษะภาษา

        การวัดความสามารถทางภาษา

- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

         การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

        พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา


         ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย

- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว

        การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)






3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่ 
การเข้าห้องน้ำ 
การแต่งตัว 
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)



         การวางแผนทีละขั้น





4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

    เป้าหมาย

- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้  
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
- อยากสำรวจ อยากทดลอง

      การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย


กิจกรรมภายในห้องเรียน





ทักษะ : Skill

- การคิด
- วิเคราะห์/สังเคราะห์
- การคิด แก้ปัญหา
- การระดมความคิด


การนำไปใช้ : Adoption

^_^  นำความรู้ ทักษะ รูปแบบการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กพิเศษที่ถูกวิธีและสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมหรือเป็นแนวทางในการช่วยเหลือเด็กพิเศษอีกด้วย


การประเมิน : Evaluation

ตัวเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ร่วมวิเคราะห์รูปแบบ ทักษะ การจัดกิจกรรมต่างๆสำหรับเด็กพิเศษ ตั้งใจฟังคำแนะนำและนำไปใช้

เพื่อน
        เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน  ตั้งใจฟังคำแนะนำจากครูผู้สอน

อาจารย์ผู้สอน
         เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ให้คำปรึกษากับนักศึกษาทุกคน ทั้งเรื่องการเรียนและเทคนิคการจัดการศึกษาให้กับเด็กพิเศษ

ห้องเรียน
             สะอาด อุปกรณ์พร้อมใช้งาน ลำโพงไม่มี ต้องนำมาเอง โปรเจคเตอร์พร้อมในการใช้งาน



วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

Journal Friday 1 April 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

ความรู้ที่ได้รับ : Knowledge

^_^  การจัดประสบการณ์ การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
       
       รูปแบบการจัดการศึกษา

1.การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
2.การศึกษาพิเศษ (Special Education)
3.การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)

4.การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)


























        การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

        เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา


^_^  ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming) และ 
       ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)

















Wilson , 2007

- การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก

- การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
- กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
- เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง

          "Inclusive Education is Education for all,
                  It involves receiving people
            at the beginning of their education,
            with provision of additional services
                  needed by each individual"
" การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน "


^_^ บทบาทครูปฐมวัย ในห้องเรียนรวม



























^_^ การบันทึกการสังเกต



























ทักษะ : Skill

- การคิด
- วิเคราะห์/สังเคราะห์
- การคิด แก้ปัญหา
- การระดมความคิด



การนำไปใช้ : Adoption

^_^  นำความรู้ ทักษะ รูปแบบการจัดการศึกษาในแต่ละแบบไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กพิเศษและเด็กปกติ เพื่อให้เขาเรียนร่วมกันได้อย่างมีความสุข



การประเมิน : Evaluation

ตัวเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ร่วมวิเคราะห์การจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆและทำกิจกรรมภายในห้องเรียน ตั้งใจฟังคำแนะนำและนำไปใช้

เพื่อน
        เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน  ตั้งใจฟังคำแนะนำจากครูผู้สอน

อาจารย์ผู้สอน
         เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ให้คำปรึกษากับนักศึกษาทุกคน ทั้งเรื่องการเรียนและเทคนิคการจัดการศึกษาให้กับเด็กพิเศษ

ห้องเรียน
             สะอาด อุปกรณ์พร้อมใช้งาน ลำโพงไม่มี ต้องนำมาเอง โปรเจคเตอร์ไม่ค่อยพร้อมในการใช้งาน