วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Journal Friday February 12 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 5


ความรู้ที่ได้รับ : Knowledge

^_^  เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) 
หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability) หมายถึงเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย



สาเหตุ

คือ ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้) และ กรรมพันธุ์



           ด้านการอ่าน (Reading Disorder) จะอ่านหนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน



            ด้านการเขียน (Writing Disorder)  เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น  เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด  เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน




            ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)  ตัวเลขผิดลำดับ ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ  ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย  แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ



           หลายๆ ด้านร่วมกัน 

อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD

- แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
- มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
- เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
- งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
- การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
- สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
- เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
- ทำงานช้า



^_^ เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิซึ่ม (Autism) คือ เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเองติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต



"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว" 

ลักษณะของเด็กออทิสติก 




- ทักษะภาษา
- ทักษะทางสังคม
- ทักษะการเคลื่อนไหว
- ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่



Autistic Savant

- กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker) จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)
- กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker) จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)



ทักษะ : Skill

- การคิด
- วิเคราะห์
- การสังเคราะห์
- การคิด แก้ปัญหา
- การระดมความคิด



การนำไปใช้ : Adoption

^_^  นำความรู้ ทักษะ ลักษณะอาการ ของเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่างๆนี้ไปประเมิน หรือ สังเกตเด็กอนุบาลในชั้นเรียนของเราได้ หรือเด็กที่เราอาจพบเห็นได้



การประเมิน : Evaluation

ตัวเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ร่วมวิเคราะห์และทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

เพื่อน
        เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

อาจารย์ผู้สอน
         เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
ห้องเรียน
             สะอาด อุปกรณ์ไม่พร้อมใช้งาน ไมค์ไม่มี ลำโพงไม่ดัง




วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Journal Friday February 5 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4



ความรู้ที่ได้รับ : Knowledge

^_^  ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

      เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders )


      เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด

หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด เช่น
1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders)
2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (speech Flow Disorders)
3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)


      เด็กที่มีความบกพร่องทางการภาษา

หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมาย ของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้ เช่น
1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)
2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia




        ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา

- ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบา ๆ และอ่อนแรง
- ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
- ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ
- หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
- ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
- หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
- มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก

- ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย


       เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
      (Children with Physical and Health Impairments)
คือ
- เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
- อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
- เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
- มีปัญหาทางระบบประสาท
- มีความลำบากในการเคลื่อนไหว


เช่น โรคลมชัก



         ซี.พี. (Cerebral Palsy) 




หมายถึง  การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด 
การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน

1. กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)



1. spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
2. spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
3. spastic paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
4. spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว

2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (athetoid , ataxia)


      athetoid คือ อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
      ataxia คือ มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน


3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed) 

ได้แก่  1. โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
           2. โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) 
           3. โปลิโอ (Poliomyelitis)
           4. โรคระบบทางเดินหายใจ โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus )  
           5. โรคหัวใจ (Cardiac Conditions)
           6. โรคมะเร็ง (Cancer)
           7. เลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia) 
           8. แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

- มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว 
- ท่าเดินคล้ายกรรไกร
- เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
- ไอเสียงแห้งบ่อย ๆ 
- มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง 
- หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว 
- หกล้มบ่อย ๆ
- หิวและกระหายน้าอย่างเกินกว่าเหตุ


ภาพกิจกรรม







ทักษะ : Skill

- การคิด - วิเคราะห์
- การสังเคราะห์
- การคิด แก้ปัญหา
- การระดมความคิด


การนำไปใช้ : Adoption

^_^  นำความรู้ ทักษะ ลักษณะอาการ ปารปฐมพยาบาลต่างๆไปใช้ในเหตุการณ์จริง หรือพบเห็นในชั้นเรียนเด็กปฐมวัยได้


การประเมิน : Evaluation

ตัวเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ร่วมวิเคราะห์และทำกิจกรรมภายในห้อง

เพื่อน
        เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

อาจารย์ผู้สอน
         เข้าสอนตรงต่อเวลา อธิบายเพิ่มเติมจากหัวข้อได้ดี เข้าใจง่าย ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้น แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

ห้องเรียน
             สะอาด อุปกรณ์ครบพร้อมใช้งาน




วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Journal Friday January 29 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 




ความรู้ที่ได้รับ : Knowledge

^_^  ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ   แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง

คือ เด็กที่มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ” (Gifted Child)

ตัวอย่างเด็กปัญญาเลิศ

 Kin Ung-Yong  เด็กเกาหลีใต้ IQ 213




 2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง มีอยู่ 9 ลักษณะ คือ

1.เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
2.เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
3.เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
4.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายเเละสุขภาพ
5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดเเละภาษา
6.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมเเละอารมณ์
7.เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
8.เด็กออทิสติก
9.เด็กพิการซ้อน

      เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา  มี 2 กลุ่ม คือ

1. เด็กเรียนช้า มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
2. เด็กปัญญาอ่อน  ระดับสติปัญญา (IQ) แบ่งได้ 4 กลุ่ม
เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34 เรียกกลุ่มนี้ว่า C.M.R
เด็กปัญญาอ่อนปานกลาง IQ 35-49 เรียกกลุ่มนี้ว่า T.M.R
เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 เรียกกลุ่มนี้ว่า E.M.R

      เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน

1. เด็กหูตึง จำแนกได้ 4 กลุ่ม

เด็กหูตึงระดับน้อย                 ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
เด็กหูตึงระดับปานกลาง         ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
เด็กหูตึงระดับมาก                 ได้ยินตั้ง 56-70 dB
เด็กหูตึงระดับรุนแรง              ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB

2. หูหนวก  ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป




         เด็กที่บกพร่องทางการมองเห็น
1. เด็กตาบอด  
มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60  20/200  ลงมาจนถึงบอดสนิท
มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา

2.เด็กตาบอดไม่สนิท
เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18  20/60  6/60  20/200 หรือน้อยกว่านั้น
มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา


ภาพกิจกรรม

 



ทักษะ : Skill

- การคิด - วิเคราะห์
- การสังเคราะห์
- การคิด แก้ปัญหา
- การระดมความคิด




การนำไปใช้ : Adoption

^_^  นำความรู้เกี่ยวกับประเภท ลักษณะ อาการของเด็กที่มีความบกพร่องด้านการได้ยินไปใช้กับเด็กที่เราพบเจอแล้วเขามีความบกพร่องทางด้านการได้ยินได้ในเบื้องต้น และยังสามารถนำความรู้นี้ไปใช้กับผู้ที่ตาบอด หูหนวก ในสถานบำบัดต่างๆอีกด้วย




การประเมิน : Evaluation

ตัวเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ร่วมวิเคราะห์และทำกิจกรรมภายใน

เพื่อน
        เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

อาจารย์ผู้สอน
         เข้าสอนตรงต่อเวลา อธิบายเพิ่มเติมจากหัวข้อได้ดี เข้าใจง่าย ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้น แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

ห้องเรียน
             สะอาด อุปกรณ์ครบพร้อมใช้งาน