วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

Journal Thursday 28 April 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 9



ความรู้ที่ได้รับ : Knowledge


^_^ โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)

แผน IEP

- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก

- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP

- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
- เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้

- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย

- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน

- วิธีการประเมินผล




































^_^ ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล

1. การรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ

- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะสั้น
- ระยะยาว

จุดมุ่งหมายระยะยาว

กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
- น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
- น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
- น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น

- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์



ตัวอย่างเช่น


3. การใช้แผน

- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
   1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
   2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
   3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก


4. การประเมินผล

- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม
อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**




ภาพรับรางวัลเด็กดี






ทักษะ : Skill

- การคิด
- วิเคราะห์/สังเคราะห์
- การคิด แก้ปัญหา
- การระดมความคิด
- การสังเกต



การนำไปใช้ : Adoption

^_^  นำความรู้ ทักษะ รูปแบบการเขียนแผน IEP ไปใช้ในการเขียนแผนจัดกิจกรรมให้กับเด็กพิเศษที่บกพร่องในด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาความบกพร่องทางด้านต่างๆให้ดียิ่งขึ้นและเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย



การประเมิน : Evaluation

ตัวเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ร่วมวิเคราะห์รูปแบบ ทักษะ การเขียนแผน IEP เพื่อจัดกิจกรรมต่างๆสำหรับเด็กพิเศษ ตั้งใจฟังคำแนะนำและนำไปใช้ และได้รับรางวัลเด็กดี

เพื่อน
        เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน  ตั้งใจฟังคำแนะนำจากครูผู้สอนและรับรางวัลเด็กดีสำหรับคนไหนที่เข้าเรียนทุกคาบ ตรงต่อเวลา

อาจารย์ผู้สอน
         เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ให้คำปรึกษากับนักศึกษาทุกคน ทั้งเรื่องการเรียนและเทคนิคการเขียนแผนจัดการกิจกรรมให้กับเด็กพิเศษที่มีความบพร่องทางด้านต่างๆ และมอบรางวัลเด็กดีให้กับนักศึกษาที่มีตัวปั๊มการมาเรียนมากที่สุด และรองลงมา

ห้องเรียน

             สะอาด อุปกรณ์พร้อมใช้งาน ลำโพงไม่มี ต้องนำมาเอง โปรเจคเตอร์พร้อมในการใช้งาน





วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

Journal Friday 22 April 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8


ความรู้ที่ได้รับ : Knowledge

^_^ การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

- เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน 
- ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด  
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)





             การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)

เ่ช่น  1.การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies) 
        2.โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS) 
        3.เครื่องโอภา (Communication Devices) 
        4.โปรแกรมปราศรัย




Picture Exchange Communication System (PECS)




^_^ บทบาทครู



^_^ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ



^_^ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

1. ทักษะทางสังคม

      ยุทธศาสตร์การสอน

- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก
- ทำแผน IEP

      การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง

- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ

       ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น

- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม




      การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น

- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
- ทำโดย “การพูดนำของครู”


2. ทักษะภาษา

        การวัดความสามารถทางภาษา

- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

         การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า  “พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด”
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

        พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา


         ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย

- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว

        การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)






3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่ 
การเข้าห้องน้ำ 
การแต่งตัว 
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)



         การวางแผนทีละขั้น





4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

    เป้าหมาย

- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้  
- มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
- พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
- อยากสำรวจ อยากทดลอง

      การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ

- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย


กิจกรรมภายในห้องเรียน





ทักษะ : Skill

- การคิด
- วิเคราะห์/สังเคราะห์
- การคิด แก้ปัญหา
- การระดมความคิด


การนำไปใช้ : Adoption

^_^  นำความรู้ ทักษะ รูปแบบการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กพิเศษที่ถูกวิธีและสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมหรือเป็นแนวทางในการช่วยเหลือเด็กพิเศษอีกด้วย


การประเมิน : Evaluation

ตัวเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ร่วมวิเคราะห์รูปแบบ ทักษะ การจัดกิจกรรมต่างๆสำหรับเด็กพิเศษ ตั้งใจฟังคำแนะนำและนำไปใช้

เพื่อน
        เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน  ตั้งใจฟังคำแนะนำจากครูผู้สอน

อาจารย์ผู้สอน
         เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ให้คำปรึกษากับนักศึกษาทุกคน ทั้งเรื่องการเรียนและเทคนิคการจัดการศึกษาให้กับเด็กพิเศษ

ห้องเรียน
             สะอาด อุปกรณ์พร้อมใช้งาน ลำโพงไม่มี ต้องนำมาเอง โปรเจคเตอร์พร้อมในการใช้งาน



วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559

Journal Friday 1 April 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

ความรู้ที่ได้รับ : Knowledge

^_^  การจัดประสบการณ์ การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
       
       รูปแบบการจัดการศึกษา

1.การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
2.การศึกษาพิเศษ (Special Education)
3.การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)

4.การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)


























        การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

        เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา


^_^  ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming) และ 
       ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)

















Wilson , 2007

- การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก

- การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
- กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
- เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง

          "Inclusive Education is Education for all,
                  It involves receiving people
            at the beginning of their education,
            with provision of additional services
                  needed by each individual"
" การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับทุกคน "


^_^ บทบาทครูปฐมวัย ในห้องเรียนรวม



























^_^ การบันทึกการสังเกต



























ทักษะ : Skill

- การคิด
- วิเคราะห์/สังเคราะห์
- การคิด แก้ปัญหา
- การระดมความคิด



การนำไปใช้ : Adoption

^_^  นำความรู้ ทักษะ รูปแบบการจัดการศึกษาในแต่ละแบบไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กพิเศษและเด็กปกติ เพื่อให้เขาเรียนร่วมกันได้อย่างมีความสุข



การประเมิน : Evaluation

ตัวเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ร่วมวิเคราะห์การจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆและทำกิจกรรมภายในห้องเรียน ตั้งใจฟังคำแนะนำและนำไปใช้

เพื่อน
        เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน  ตั้งใจฟังคำแนะนำจากครูผู้สอน

อาจารย์ผู้สอน
         เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ให้คำปรึกษากับนักศึกษาทุกคน ทั้งเรื่องการเรียนและเทคนิคการจัดการศึกษาให้กับเด็กพิเศษ

ห้องเรียน
             สะอาด อุปกรณ์พร้อมใช้งาน ลำโพงไม่มี ต้องนำมาเอง โปรเจคเตอร์ไม่ค่อยพร้อมในการใช้งาน








วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

Journal Friday 11 March 2559


บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 



วามรู้ที่ได้รับ : Knowledge

^_^  เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders) คือ 
- เด็กที่มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ 
- แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
- มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
- เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินาน ๆ ไม่ได้
- เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
- ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย






ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์





การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ







สมาธิสั้น (Attention Deficit) คือ เด็กที่มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ




การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal) คือ การหลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก


ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)

คือ ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
- การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
- การปฏิเสธที่จะรับประทาน
- รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
- โรคอ้วน (Obesity)
- ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)


ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง










ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก

- ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
- รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
- มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
- มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
- แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- มีความหวาดกลัว


เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม  ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก คือ
- เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
- เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)


เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)




ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ

- Inattentiveness (สมาธิสั้น)
- Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)

- Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)

สาเหตุ

- ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง
เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
- ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
- พันธุกรรม
- สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น

       สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก


ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

- อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน 
- ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก 
- ดูดนิ้ว กัดเล็บ
- หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม 
- เรียกร้องความสนใจ 
- อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า 
- ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
- ฝันกลางวัน 
- พูดเพ้อเจ้อ 

^_^ เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)  คือ เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด







ทักษะ : Skill

- การคิด
- วิเคราะห์
- การสังเคราะห์
- การคิด แก้ปัญหา
- การระดมความคิด




การนำไปใช้ : Adoption

^_^  นำความรู้ ทักษะ ลักษณะอาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านอารมณ์ พฤติกรรม และเด็กพิการซ้ำซ้อน ไปเป็นข้อมูลและนำไปปรับใช้ในการสอนเด็กพิเศษ




การประเมิน : Evaluation

ตัวเอง
         เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ร่วมวิเคราะห์และทำกิจกรรมภายในห้องเรียน ตั้งใจฟังคำแนะนำเรื่องการเลือกโรงเรียนสังเกตการสอนและนำไปใช้

เพื่อน
        เพื่อนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ตั้งใจร่วมทำกิจกรรมภายในห้องเรียน  ตั้งใจฟังคำแนะนำเรื่องการเลือกโรงเรียนสังเกตการสอนและนำไปใช้

อาจารย์ผู้สอน
         เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พร้อมกับให้คำปรึกษากับนักศึกษาทุกคน ทั้งเรื่องการเรียนและการเลือกโรงเรียนสังเกตการสอน

ห้องเรียน
             สะอาด อุปกรณ์ไม่พร้อมใช้งาน ลำโพงไม่มี ต้องนำมาเอง